วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563

มัทนะพาธา

 มัทนะพาธา(ตำนานรักดอกกุหลาบ)



ความเป็นมา :เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โครงเรื่องขึ้นด้วยจินตนาการของพระองค์เอง  เป็นวรรณคดีบทละครพูดคำฉันท์ แต่งด้วยฉันท์สลับกาพ์ย บทละครเรื่องนี้ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า “เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์”ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเยี่ยมและสอดแทรกคติสอนใจเรื่องความรักได้อย่างดีอีกด้วย

ที่มาของเรื่อง:มัทนะพาธา แปลว่า “ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก”หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มี๕ องค์ แบ่งเป็น๒ภาค คือภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน


เรื่องย่อ"มัทนะพาธา" เป็นเรื่องสมมุติ ว่าเกิดในดินแดนอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์บนสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์ หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่ปลงใจด้วย สุเทษณ์จึงขอให้มายาวิน ใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา เมื่อโดนมนตร์สะกด นางมัทนาก็เจรจาตอบสุเทษณ์อย่างคนไม่รู้สึกตัว สุเทษณ์จึงไม่โปรด เมื่อขอให้มายาวินคลายมนตร์ นางมัทนาก็รู้สึกตัว และตอบปฏิเสธความรักของสุเทษณ์ ทำให้สุเทษณ์โกรธมาก จึงสาปให้นางจุติไปเกิดบนโลกมนุษย์ นางมัทนาขอไปเกิดเป็นดอกกุพฺชะกะ หรือดอกกุหลาบ สุเทษณ์ จึงกำหนดว่า ดอกกุหลาบดอกนั้นจะกลายเป็นมนุษย์ ได้เฉพาะในวันเพ็ญเพียงวันและคืนเดียว ต่อเมื่อนางมัทนามีความรัก จึงจะพ้นคำสาปจากสภาพที่เป็นดอกไม้ และหากเมื่อใดนางเกิดความทุกข์เพราะความรัก ก็ให้นางวิงวอนต่อพระองค์ แล้วพระองค์ก็จะทรงช่วยเหลือ และนางมัทนาจึงมาเกิดเป็นต้นกุพชะกะ ฤาษีกาละทรรศินมาพบจึง นำไป ไว้ในอาศรม นางมัทนาจะอยู่ปรนนิบัติพระฤาษีเยี่ยงบิดาทุกคืนวันเพ็ญต่อมา ท้าวชัยเสนเสด็จประพาสป่ามาพบนางมัทนาจึงเกิดความรักได้ขอนางมัทนา ต่อพระฤาษี ทั้งสองได้อภิเษกสมรส แต่พระนางจัณฑี มเหสีของท้าวชัยเสนเกิดความหึงหวงและแค้นใจมาก พระนางจึงขอให้พระบิดาซึ่งเป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ยกทัพมาตีหัสตินาปุระ อีกทั้งพระนางจัณฑียังใช้ให้นางข้าหลวงค่อม ทำกลอุบายว่านางมัทนาลอบรักกับศุภางค์ ทหารเอกของท้าวชัยเสน ทำให้ท้าวชัยเสนหลงเชื่อ จึงสั่งให้ประหารนางมัทนาและศุภางค์ แต่ต่อมา เมื่อท้าวชัยเสนรู้ว่านางมัทนาและศุภางค์ไม่มีความผิด ก็เสียใจมาก อำมาตย์เอกจึงทูลความจริงว่ายังมิได้สังหารนางมัทนาและศุภางค์ ท้าวชัยเสนรู้ดังนั้น จึงยกขบวนเดินทางไปรับนางมัทนา ขณะนั้นเอง นางมัทนาได้ทูลขอให้เทพบุตรสุเทษณ์รับนางกลับไปสวรรค์ สุเทษณ์รับคำขอของนาง แต่มีข้อแม้ว่านางจะต้องตอบรับรักตนก่อน ครั้นนางมัทนาปฏิเสธ สุเทษณ์จึงกริ้ว และสาปให้นางมัทนากลายเป็นกุหลาบตลอดไป ท้าวชัยเสนมาไม่ทันการณ์จึงเพียงได้แต่นำต้นกุหลาบ กลับไปเลี้ยงดูด้วยความรักที่พระราชวัง



คุณค่าด้านเนื้อหา

๑เป็นบทละครพูดคำฉันท์

๒ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะรัก

๓สุเทษณ์หลงรักนางมัทนาแต่นางไม่รับรักจึงสาปให้เป็นดอกกุหลาบ

๔นางมัทนารักกับท้าวชัยเสน แต่นางจันที วางอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์และสุเทษณ์ขอความรักนาง อีกครั้งแต่นางปฏิเสธเช่นเคย เรื่องจึงจบลงด้วยความสูญเสียและความเจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย

๕ด้านตัวละคร สุเทษณ์ เป็นเทพบุตรที่เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง ไม่คิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น

นางมัทนา มีนิสัยซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ท้าวชัยเสน เป็นคนหลงเชื่อคนง่าย

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑การใช้โวหารชมความงามของนางมัทนาจนทำให้ผู้อ่านเห็นภาพตาม

งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ
งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน
งามเกศะดำขำ กลน้ำ ณ ท้องละหาน
งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา
งามทรวงสล้างสอง วรถันสุมนสุมา-
ลีเลิดประเสริฐกว่า วรุบลสะโรชะมาศ
งามเอวอนงค์ราว สุระศิลปชาญฉลาด
เกลากลึงประหนึ่งวาด วรรูปพิไลยพะวง
งามกรประหนึ่งงวง สุระคชสุเรนทะทรง
นวยนาฏวิลาศวง ดุจะรำระบำระเบง
ซ้ำไพเราะน้ำเสียง อรเพียงภิรมย์ประเลง,
ได้ฟังก็วังเวง บ มิว่างมิวายถวิล
นางใดจะมีเทียบ มะทะนา ณ ฟ้า ณ ดิน
เป็นยอดและจอดจิน- ตะนะแน่ว ณ อก ณ ใจ

๒การใช้ลีลาจังหวะให้เกิดความไพเราะ

๓การใช้คำที่มีเสียงไพเราะเกิดจากการเล่นคำให้คล้องจอง มีการเล่นเสียงสัมผัสใน สัมผัสสระแลัสัมผัสอักษร

อ้าสองเทเวศร์         โปรดเกศข้าบาท        

ทรงฟังซึ่งวาท          ที่กราบทูลเชอญ

โปรดช่วยดลใจ        ทรามวัยให้เพลิน        

จนลืมขวยเขิน         แล้วรีบเร็วมา

คุณค่าด้านสังคมไทย

๑ความเชื่อเรื่องชาติภพ

๒ความเชื่อเรื่องทำบุญมากๆจะไปเกิดบนสวรรค์

๓ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์เช่นสุเทษณ์รักนางมัทนาแต่ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์

๔การเคารพผู้ใหญ่ กตัญญู

๕ความเชื่อเรื่องคาถาอาคม

๖การบังคับใจผู้อื่นจะก่อให้เกิดแต่ผลเสีย

ข้อคิด

๑ที่ใดมีรัดที่นั้นมีทุกข์

๒ไม่ควรหลงเชื่อคนง่าย

๓ความรักที่มั่นคงเช่นความรักที่สุเทษณ์มีให้กับนางมัทนา



อ้างอิง

https://sites.google.com/site/learnthaibykrugikk/mathna-phatha

http://kruthaicrw.blogspot.com/2013/10/blog-post_11.html

วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

ภาวะโลกร้อน

เมื่อพูดถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าในบ้านพักอาศัย สิ่งที่ใช้พลังงานมากที่สุดคงต้องนึกถึงเครื่องปรับอากาศ ดังนั้นการเลือกเครื่องปรับอากาศที่มี ประสิทธิภาพ คือ ทําความเย็นได้ใช้พลังงานน้อยก็จะช่วยลดค่าไฟฟ้าได้มากเลยทีเดียว ในปัจจุบันมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ได้พัฒนา เครื่องปรับอากาศเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้มีตัวเลือกในการใช้งานมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของการประหยัดพลังงานและไม่ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงจะขอยกตัวอย่างนวัตกรรมเครื่องปรับอากาศ ดังนี้ ระบบ Dual inverter compressor ไม่กี่ปีที่ผ่านมาเราจะได้ยินการพูดถึงเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพการทําความเย็นสูง รูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า เครื่องปรับอากาศระบบอินเวอร์เตอร์ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทําความเย็นและลดการใช้พลังงานลงเมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องปรับอากาศรุ่นเดิมๆ สําหรับปัจจุบัน เครื่องปรับอากาศที่จําหน่ายในประเทศไทยแทบจะทุกยี่ห้อมีการนําระบบอินอินเวอร์เตอร์มาใช้และบางยี่ห้อได้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นระบบ Dual inverter compressor ที่มีการพัฒนาให้คอมเพรสเซอร์ เร่งการทํางานด้วยความเร็วรอบสูงด้วยคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี 2 ตัว สามารถทำความเย็นได้อย่าง รวดเร็วตามระดับอุณหภูมิที่ตั้งไว้ โดยคอมเพรสเซอร์จะทํางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอแต่จะเพิ่มหรือ ลดความเร็วรอบตามอุณหภูมิที่ตั้งค่าไว้ทําให้อุณหภูมิภายในห้องคงที่ ซึ่งระบบ Dual inverter compressor จะทําความเย็นได้เร็วกว่าระบบที่ไม่มีอินอินเวอร์เตอร์ ถึง 40 % และประหยัดพลังงาน ได้มากถึง 70% เทคโนโลยี Dual Barrier Costing เครื่องปรับอากาศเมื่อใช้งานไปนานๆ จะเกิดฝุ่นขนาดเล็กเข้า ไปเกาะที่แผ่นกรองอากาศ แล้วฝุ่นขนาดเล็กที่ผ่านแผ่นกรองอากาศจะ เข้าไปเกาะกับใบพัดของพัดลมที่ทําหน้าที่ส่งความเย็นเข้าไปในห้อง ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา

การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาล





การปฐมพยาบาล หมายถึง การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น แก่ผู้ที่ได้รับอุบัติภัยหรือเจ็บป่วยกะทันหันโดยใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่พอจะหาได้ในบริเวณนั้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยและช่วยให้ผู้ป่วยได้รับอันตรายน้อยลง   ก่อนที่จะนำส่งโรง พยาบาลเพื่อให้แพทย์ทำการรักษาพยาบาลต่อไป
หลักการทั่วไปของการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ

1. เมื่อพบผู้บาดเจ็บที่มีเลือดออก ควรห้ามเลือด
2. ถ้าผู้บาดเจ็บไม่มีเลือดออก ควรตรวจว่าร่างกายอบอุ่นหรือไม่ มีอาการช็อคตัวเย็นซีดหรือไม่ ควรห่มผ้าให้อบอุ่น หนุนลำตัวให้สูงกว่าศีรษะเล็กน้อย
3. ควรตรวจว่าผู้ป่วยมีสิ่งของในปากหรือไม่ เช่น เศษอาหาร ฟันปลอม ถ้ามีให้รีบล้วงออก เพื่อ ไม่ให้ทางเดินหายใจอุดตันหรือสำลักเข้าปอด

4. ควรตรวจลมหายใจของผู้บาดเจ็บว่าติดขัดหรือหยุดหายใจหรือไม่ ถ้ามีควรผายปอดและควรตรวจคลำชีพจร ของเส้นเลือดใหญ่บริเวณ ข้างลำคอ ถ้าพบว่ามีการเต้นจังหวะเบามากให้รีบนวดหัวใจด้วยวิธีกดหน้าอก
5. ควรตรวจร่างกายว่ามีส่วนใดมีบาดแผล รอยฟกช้ำ กระดูกหักหรือ เข้าเคลื่อนหรือไม่ หากพบสิ่งผิดปกติ ให้ปฐมพยาบาล เช่น ปิดบาด แผล ห้ามเลือด เป็นต้น
6. ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องเคลื่อน ย้ายควรทำให้ถูกวิธี
7. ควรคลายเสื้อผ้าให้หลวม
8. ควรห้ามคนมามุงดู เพราะจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ต้อง ให้มีอากาศโปร่ง และมีแสงสว่าง เพียงพอ


การสำรวจอาการบาดเจ็บ
 เมื่อผู้ได้รับอุบัติเหตุหรือมีอาการผิดปกติกะทันหันจำเป็นต้องสังเกตหรือต้องสำรวจอาการผิดปกติว่ามีอะรตรงไหนบ้างที่ต้องช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างถูกวิธีก่อนถึงมือแพทย์ จะเป็นประโยชน์ต่อผู้บาดเจ็บคือ
1.ช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิต
2.เป็นการผ่อนหนังให้เป็นเบาจากอาการบาดเจ็บ
3.ช่วยให้ผู้ป่วยกลับฟื้นคืนสติเร็วขึ้น
4.สามารถส่งผู้ป่วยถึงมือแพทย์ได้รวดเร็วและถูกวิธี
การสังเกตอาการบาดเจ็บหรืออาการผิดปกติ ปฏิบัติได้ดังนี้
1.สังเกตว่าผู้ป่วยยังรู้สึกตัวหรือมีสติหรือไม่
2.สังเกตการหายใจ
3.สังเกตการเสียเลือด และการเต้นของชีพจร
4.การตรวจสัญญาณ
5.สังเกตอาการผิดปกติ โดยการนับชีพจร ผู้ใหญ่ 60-80 ครั้ง/นาที เด็ก 90-130 ครั้ง/นาที มีการเต้นอย่างสม่ำเสมอ
6.สังเกตลักษณะบาดแผลและรูปลักษณ์ของอวัยวะที่ผิดไปจากเดิม
7.สังเกตการทำงานของระบบประสาท
8.สังเกตความผิดปกติอย่างอื่น เช่น สีผิว หน้าแดง หรือซีด
หลังจากสังเกตอาการบาดเจ็บแล้วพบสาเหตุแล้ว ควรให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บตามอาการ โดยปกติภาวะฉุกเฉินที่ต้องการการปฐมพยาบาลมี 2 ประเภท ได้แก่
1.ภาวะคุกคามชีวิต คือ ถ้าปฐมพยาบาลถูกต้องก็จะช่วยให้ชีวิตรอด ถ้าผิดจะพิการหรือตาย
-เลือดออกหรือตกเลือด
-ช็อกและเป็นลมหมดสติ
-หยุดหายใจ หัวใจหยุดเต้น
-การได้รับสารพิษเข้าไป
2.ภาวะที่ไม่รุนแรงถึงตาย แต่ผู้ปฐมพยาบาลสามารถช่วยให้ผ่อนคลายความเจ็บปวดและป้องกันไม่ให้บาดแผลลุกลามหรือบาดเจ็บยิ่งขึ้น เช่น บาดแผลจากของมีคม หรือไฟไหม้ เป็นต้น
การปฐมพยาบาลบาดแผล
ชนิดของบาดแผลบาดแผลปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดของเนื้อเยื่อภายใต้ผิวหนัง เช่น แผลฟกช้ำ ห้อเลือด ข้อเท้าพลิก ข้อแพลง
การดูแล
ใน 24 ชั่วโมงแรก ใช้น้ำแข็งหรือถุงน้ำเย็นประคบ เพื่อไม่ให้เลือดออก และช่วยระงับอาการปวด
หลัง 24 ชั่วโมง ควรประคบด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยละลายลิ่มเลือด
บาดแผลเปิด หมายถึง บาดแผลที่มีการฉีกขาดและมีเลือดไหลออกมานอกผิวหนัง เช่น แผลถลอก แผลตัด แผลฉีกขาดกระรุ่งกระริ่ง แผลถูกยิง แผลถูกแทง แผลถูกยิง

การดูแล 
1.ชะล้างแผลและทำความสะอาดรอบๆ แผล ถ้าแผลสกปรกมาก ควรล้างด้วยน้ำสะอาดและสบู่
2.ใช้ผ้าสะอาด หรือผ้ากอซสะอาด ซับบริเวณแผลให้แห้ง
3.ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน (Betadine) ไม่จำเป็นต้องปิดแผล ถ้าเป็นแผลถลอก หากมีเลือดซึม ควรใช้ผ้ากอซสะอาดปิดแผลไว้
4.ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่ กว้างและลึก มีเลือดออกมาก ให้ห้ามเลือด และรีบนำส่งโรงพยาบาล
บาดแผลที่เย็บการดูแล
1.ดูแลแผลไม่ให้สกปรก ไม่ควรให้ถูกน้ำเพราะจะทำให้แผลที่เย็บไม่ติด และเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
2.การเปลี่ยนผ้าปิดแผลควรทำให้น้อยที่สุดหรือทำเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น ถ้าแผลสะอาดไม่ต้องเปลี่ยนผ้าปิดแผลจนถึงกำหนดตัดไหม ยกเว้น แผลสกปรก อาจต้องล้างแผลบ่อยขึ้น
3.ตามปกติ จะตัดไหมเมื่อครบ วัน แต่ถ้าแผลยังอักเสบ หรือยังไม่แน่ใจว่าแผลติดแล้ว อาจต้องรอต่อไปอีก 2 – 3 วัน ให้แผลติดกันดีจึงค่อยตัดไหม ยกเว้นรายที่มีการติดเชื้อ แผลเป็นหนอง จำเป็นจะต้องตัดไหมออกก่อนกำหนด
แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกหมายถึง การที่ผิวหนังถูกทำลายด้วยความร้อน ที่อุณหภูมิสูงกว่า 50 C ได้แก่ เปลวไฟ ไอน้ำร้อน น้ำเดือด สารเคมี กระแสไฟฟ้า และรังสีต่างๆ
ชนิดของแผลไหม้
1.     เฉพาะชั้นผิวหนัง ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบปวดร้อน ลักษณะแผลแห้ง แดง และถ้าลึกถึงหนังแท้จะพองเป็นตุ่มน้ำใสและบวม

การดูแล
1.ระบายความร้อนออกจากแผล โดยใช้ผ้าชุบน้ำ หมั่นประคบบริเวณบาดแผล หรือเปิดให้น้ำไหลผ่านบริเวณบาดแผลตลอดเวลา นานประมาณ 10 นาที ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดด้วย
2.ทาด้วยยาทาแผลไหม้
3.ห้ามเจาะถุงน้ำหรือตัดหนังส่วนที่พองออก
4.ปิดด้วยผ้าสะอาดเพื่อป้องกันการติดเชื้อและพันผ้าไว้
5.ถ้าแผลไหม้เป็นบริเวณกว้างหรือเป็นอวัยวะที่สำคัญต้องรีบนำส่งโรงพยาบาล
2.     ลึกถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ได้แก่ ไขมัน กล้ามเนื้อ เส้นประสาท กระดูก เป็นต้น ลักษณะแผลมีสีน้ำตาลเทาหรือดำ ผิวหนังรอบๆ จะซีด มีกลิ่นไหม้ อาจทำให้เกิดผลแทรกซ้อน ถึงเสียชีวิตได้
การดูแล
  • ไม่ต้องระบายความร้อนออกจากบาดแผลเพราะจะยิ่งทำให้แผลติดเชื้อมากขึ้น
  • ห้ามใส่ยาใดๆ ทั้งสิ้นลงในบาดแผล
  • ใช้ผ้าสะอาดปิดบริเวณแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรก ให้ความอบอุ่น และรีบนำส่งโรงพยาบาล
ห้ามใช้น้ำปลา ยาสีฟัน ยาหม่อง ทาแผล เพราะอาจเกิดการติดเชื้อทำให้แผลอักเสบได้
อันตรายจากสารเคมี
เมื่อถูกสารเคมีหกราดผิวหนังหรือลำตัวให้ปฏิบัติตัวดังนี้
1.     ใช้น้ำล้าง โดยใช้วิธีตักราด หรือเปิดน้ำให้ไหลผ่านนานประมาณ 10 นาที หรือนานจนแน่ใจว่าล้างออกหมด
2.     ถอดเสื้อผ้าเครื่องประดับที่เปื้อนสารเคมีออกให้หมด
3.     นำส่งโรงพยาบาล สำหรับผู้ที่มีอาการเจ็บสาหัส
สิ่งสำคัญ
ถ้าสารเคมีเป็นผง ให้ถอดเสื้อผ้า และเครื่องประดับที่เปื้อนออกให้หมด แล้วล้างด้วยน้ำ เพราะถ้าใช้น้ำล้างทันที สารเคมีจะละลายน้ำทำให้ออกฤทธิ์เพิ่มขี้น
สารเคมีเข้าตา
ต้องรีบให้การช่วยเหลือเพราะอาจทำให้ตาบอดได้ ดังนี้
1. ล้างด้วยน้ำสะอาด นานประมาณ 20 นาที โดยเปิดน้ำจากก๊อกเบาๆ ล้าง หรือเทน้ำจากแก้วล้างระวังอย่าให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่ง
2. ปิดตาด้วยผ้าสะอาด ห้ามขยี้ตา
นำส่งโรงพยาบาลทันที


สมุนไพรรักษาโรค

สมุนไพร คือ สารอาหารสำคัญจาก พืช สัตว์ และ แร่ธาตุ นำมาใช้ ในการรักษาโรคต่างๆ และ บำรุงร่างกาย
  • สมุนไพรจากพืช นำส่วนประกอบต่างๆของพืชมาทำเป็นยา ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก หัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ เป็นต้น 
  • สมุนไพรจากสัตว์ คือ การใช้ส่วนต่างๆของสัตว์ เช่น ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล เป็นต้น มาสัดทำยารักษาโรค ในรูปแบบ ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา เป็นต้น 
  • สมุนไพรจากแร่ธาตุ เช่น เกลือ กำมะถัน น้ำประสานทอง เป็นต้น
รูปแบบของสมุนไพรที่ใช้เป็นยา
การนำเอาสมุนไพรมาใช้ในการบำบัดโรค และ บำรุงร่างกาย นั้น สมุนไพรจะถูกแปรรูปให้อยู่ในรูปแแบที่ สามารถบริโภคได้สะดวก ประกอบด้วย ของเหลว ของแข็ง กึ่งของแหลว และ รุปแบบอื่นๆ โดยรายละเอียก ดังนี้
  1. ของเหลว กรรมวิธีในการแปรรูปสมุนไพร ใช้การต้มกับน้ำ และ คั้นน้ำจากสมุนไพรต่างๆ และนำเอามาเป็นส่วนผสมของยาดองเหล้า เป็นต้น
  2. ของแข็ง กรรมวิธีเกิดจากการนำสมุนไพรไปตากแห้ง และ บดให้ละเอียด และนำไปปั้นเป็นเม็ด เรียก ยาลูกกลอน
  3. กึ่งของเหลว ลักษณะกรรมวิธีการพอก คือ การนำสมุนไพรสด หรือ แห้ง มาบดให้มีน้ำ หรือ นึ่งให้ และใช้การพอกใช้เพื่อการรักษาภายนอก เรียก ยาพอก
  4. รูปแบบอื่นๆ ลักษณะการใช้งานแบบอื่นๆ เช่น การรมควัน เพื่อรักษาแผล สำหรับสตรีหลังคลอดลูก เป็นต้น
หลักการในการใช้สมุนไพร
สำหรับหลักการสำหรับการใช้สมุนไพร นั้น สามารถสรุปหลักการต่างๆ ได้ดังนี้
  1. การใช้สมุนไพรไทย ไม่ควรใช้รักษาโรคที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ หรือ ไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค
  2. สำหรับกลุ่มอาการร้ายแรง เช่น ไข้สูง ซึม ไม่รู้สึกตัว ปวดอย่างรุนแรง อาเจียนเป็นเลือด ตกเลือดจากช่องคลอด ท้องเดินอย่างรุนแรง หรือคนไข้เป็นเด็กและสตรีมีครรภ์ ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษา ควรพบแพทย์แผนปัจจุบันตรวจและรักษาโรค
  3. การใช้สมุนไพร หรือ การบริโภคสมุนไพร นั้นต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ใช้หรือกินมากเกินไป
  4. ไม่ควรใช้สมุนไพรติดต่อกันเป็นเวลานานๆ
  5. หากมีอาการแพ้ง ร่างกายเป็นพิษที่เกิดจากการใช้สมุนไพรไทย ควรหยุดใช้ทันที

DIY

     DIY นั้นเป็นชื่อย่อที่มาจากคำภาษาอังกฤษว่า Do it yourself ซึ่งแปลตรงตัวก็คือ ทำมันด้วยตนเอง โดยเป็นการนำสิ่งของที่เหลือใช้ หรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรืออาจเป็นของใหม่ มาทำการสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ให้กลายเป็นผลงานชิ้นใหม่ด้วยฝีมือของตัวเอง เรียกว่าเป็นการบรรเจิดไอเดียในการดัดแปลงสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ออกมาจากมันสมองและสองมือของเราเอง
ข้อดีของการทำ DIY มีอะไรบ้าง?
– เป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการคิดประดิษฐ์สิ่งของแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้นมาด้วยตนเอง
– เมื่อสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว ทำให้ตัวเราเกิดความภาคภูมิใจกับผลงานที่เราสามารถประดิษฐ์ขึ้นมาด้วยตนเอง
– เป็นการทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ขึ้นมาจากสมองของตัวเอง
งาน DIY สามารถนำมาประดิษฐ์อะไรได้บ้าง?
– สามารถทำชั้นวางของติดผนังในห้องน้ำเก๋ๆ ได้โดยการนำตะแกรงลวดที่เหลือใช้นำมาผูกเชื่อมต่อกัน
– สามารถนำมาทำโต๊ะเก๋ๆ ด้วยการนำไม้เก่าที่ไม่ใช้แล้วมาตอกเข้ากันให้เป็นล้อต่อกับโต๊ะ นอกจากดูแปลกและสวยงามแล้ว ยังทำให้โต๊ะสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายอีกด้วย
– สามารถนำมาทำเป็นโคมไฟสวยๆ ประดับบ้าน โดยการนำขวดน้ำหวาน หรือขวดเหล้า มาใส่หลอดไฟเข้าไป ทำให้กลายเป็นโคมไฟเก๋ๆ


การดูแลสุขภาพ

1.การเลือกรับประทานอาหาร
          ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกาย การจะเกิดผลดีหรือผลเสียนั้น ขึ้นอยู่กับการเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม เพราะร่างกายจะนำไปพัฒนาและซ่อมแซมในส่วนต่าง ๆ ควรลดอาหารที่มีแคลอรีสูง ของทอด ปิ้ง-ย่าง หรืออาหารที่มีไขมันเยอะ เพราะหากร่างกายเผาผลาญไม่หมดก็จะกลายเป็นไขมันสะสมในร่างกายในที่สุด ทางที่ดีควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม เลือกรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์
2.บริหารสมอง
          การบริหารสมองก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่ดีได้ ลองหาเกมฝึกสมองมาเล่น เช่น เกมอักษรไขว้ เกมจำตำแหน่งภาพ เกมจับผิด เกมซูโดกุ หรือเกมหมากรุกจีน เป็นต้น ควรหันมารับประทานผลไม้พวก ส้ม องุ่น เบอร์รี่ให้มากขึ้นด้วย เพราะผลไม้จำพวกนี้มีสารช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดอาการหลง ๆ ลืม ๆ ได้ หรือการหัวเราะก็ช่วยให้เลือดไหลเวียนดียิ่งขึ้น เพราะร่างกายจะหลั่งสารเคมีในระบบประสาทที่ทำให้ผ่อนคลาย ซึ่งจะส่งผลดีทั้งร่างกาย จิตใจ อีกทั้งคนรอบข้างก็จะมีความสุขตามไปด้วย
3.พักสายตาจากโซเชียล
          ทุกวันนี้ไม่ว่าจะหันไปทางไหนหรือทำอะไรก็ต้องถ่ายรูป แชร์ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ไม่ให้พลาดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ซึ่งถ้าใช้ในปริมาณที่เหมาะสมก็จะให้ผลดีแก่เรา แต่ถ้าใช้มากเกินไปนอกจากจะทำให้เป็นคนติดโซเชียลแล้ว ยังอาจทำให้กล้ามเนื้อดวงตาเมื่อยล้า หรือตาแห้งเพราะต้องคอยจ้องอยู่ที่หน้าจอเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการเบลอ สายตาพร่ามัว หรือสายตาสั้นได้ ทางที่ดีควรพักสายตา และบริหารดวงตาของเราด้วย เช่น กระพริบตา กลอกตาไปมาเพื่อป้องกันตาแห้ง หรือมองไปยังวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะช่วยให้ผ่อนคลายดวงตาลงได้ และถ้าลดโซเชียลลงบ้าง ก็จะทำให้ไม่ต้องเครียดจากการเสพข่าว สุขภาพจิตดีขึ้น
4.ออกกำลังกาย
          การออกกำลังกายนอกจากจะได้สุขภาพที่ดี เพราะอวัยวะภายในร่างกายจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำให้เรามีภูมิต้านทานห่างไกลโรคภัยต่าง ๆ สุขภาพจิตก็ดีตามไปด้วย ควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีหลังเลิกงาน ลองเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะใกล้บ้านก็ได้ หรือจะวิ่ง จะแอโรบิค ก็ล้วนแต่ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีทั้งนั้น แต่หากใครไม่มีเวลาออกกำลังกายจริง ๆ งานบ้านก็อาจจะช่วยได้เหมือนกัน เช่น ทำสวน กวาดบ้าน ถูบ้าน ล้างรถ ก็ถือเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ทั้งยังทำให้บ้านสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย
5.พักผ่อนให้เพียงพอ
          เมื่อทำกิจวัตรต่าง ๆ ในแต่ละวันเสร็จเรียบร้อยแล้ว การพักผ่อนที่ดีที่สุด คือ การนอน เพราะร่างกายจะได้ซ่อมแซมฟื้นฟูได้อย่างเต็มที่ ควรนอนให้ครบ 8 ชั่วโมงและนอนให้เป็นเวลา เพราะหากนอนดึกเกินไป ร่างกายอาจเหนื่อยล้าได้ อีกทั้งยังมีผลเสียตามมา เช่น มีริ้วรอย เสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ ทางที่ดีควรพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อตื่นขึ้นมารับวันใหม่ ร่างกายจะได้สดชื่นและตื่นตัวตลอดทั้งวัน สุขภาพร่างกายก็จะดีตามไปด้วย