วันพุธที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563

มัทนะพาธา

 มัทนะพาธา(ตำนานรักดอกกุหลาบ)



ความเป็นมา :เป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชนิพนธ์โครงเรื่องขึ้นด้วยจินตนาการของพระองค์เอง  เป็นวรรณคดีบทละครพูดคำฉันท์ แต่งด้วยฉันท์สลับกาพ์ย บทละครเรื่องนี้ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่า “เป็นยอดของบทละครพูดคำฉันท์”ด้วยการเลือกถ้อยคำที่สื่ออารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้ดีเยี่ยมและสอดแทรกคติสอนใจเรื่องความรักได้อย่างดีอีกด้วย

ที่มาของเรื่อง:มัทนะพาธา แปลว่า “ความเจ็บปวดหรือความเดือดร้อนเพราะความรัก”หรือตำนานแห่งดอกกุหลาบเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มี๕ องค์ แบ่งเป็น๒ภาค คือภาคสวรรค์และภาคพื้นดิน


เรื่องย่อ"มัทนะพาธา" เป็นเรื่องสมมุติ ว่าเกิดในดินแดนอินเดียโบราณ เนื้อเรื่องกล่าวถึงเหตุการณ์บนสวรรค์ เทพบุตรสุเทษณ์ หลงรักเทพธิดามัทนา แต่นางไม่ปลงใจด้วย สุเทษณ์จึงขอให้มายาวิน ใช้เวทมนตร์สะกดเรียกนางมา เมื่อโดนมนตร์สะกด นางมัทนาก็เจรจาตอบสุเทษณ์อย่างคนไม่รู้สึกตัว สุเทษณ์จึงไม่โปรด เมื่อขอให้มายาวินคลายมนตร์ นางมัทนาก็รู้สึกตัว และตอบปฏิเสธความรักของสุเทษณ์ ทำให้สุเทษณ์โกรธมาก จึงสาปให้นางจุติไปเกิดบนโลกมนุษย์ นางมัทนาขอไปเกิดเป็นดอกกุพฺชะกะ หรือดอกกุหลาบ สุเทษณ์ จึงกำหนดว่า ดอกกุหลาบดอกนั้นจะกลายเป็นมนุษย์ ได้เฉพาะในวันเพ็ญเพียงวันและคืนเดียว ต่อเมื่อนางมัทนามีความรัก จึงจะพ้นคำสาปจากสภาพที่เป็นดอกไม้ และหากเมื่อใดนางเกิดความทุกข์เพราะความรัก ก็ให้นางวิงวอนต่อพระองค์ แล้วพระองค์ก็จะทรงช่วยเหลือ และนางมัทนาจึงมาเกิดเป็นต้นกุพชะกะ ฤาษีกาละทรรศินมาพบจึง นำไป ไว้ในอาศรม นางมัทนาจะอยู่ปรนนิบัติพระฤาษีเยี่ยงบิดาทุกคืนวันเพ็ญต่อมา ท้าวชัยเสนเสด็จประพาสป่ามาพบนางมัทนาจึงเกิดความรักได้ขอนางมัทนา ต่อพระฤาษี ทั้งสองได้อภิเษกสมรส แต่พระนางจัณฑี มเหสีของท้าวชัยเสนเกิดความหึงหวงและแค้นใจมาก พระนางจึงขอให้พระบิดาซึ่งเป็นพระราชาแห่งแคว้นมคธ ยกทัพมาตีหัสตินาปุระ อีกทั้งพระนางจัณฑียังใช้ให้นางข้าหลวงค่อม ทำกลอุบายว่านางมัทนาลอบรักกับศุภางค์ ทหารเอกของท้าวชัยเสน ทำให้ท้าวชัยเสนหลงเชื่อ จึงสั่งให้ประหารนางมัทนาและศุภางค์ แต่ต่อมา เมื่อท้าวชัยเสนรู้ว่านางมัทนาและศุภางค์ไม่มีความผิด ก็เสียใจมาก อำมาตย์เอกจึงทูลความจริงว่ายังมิได้สังหารนางมัทนาและศุภางค์ ท้าวชัยเสนรู้ดังนั้น จึงยกขบวนเดินทางไปรับนางมัทนา ขณะนั้นเอง นางมัทนาได้ทูลขอให้เทพบุตรสุเทษณ์รับนางกลับไปสวรรค์ สุเทษณ์รับคำขอของนาง แต่มีข้อแม้ว่านางจะต้องตอบรับรักตนก่อน ครั้นนางมัทนาปฏิเสธ สุเทษณ์จึงกริ้ว และสาปให้นางมัทนากลายเป็นกุหลาบตลอดไป ท้าวชัยเสนมาไม่ทันการณ์จึงเพียงได้แต่นำต้นกุหลาบ กลับไปเลี้ยงดูด้วยความรักที่พระราชวัง



คุณค่าด้านเนื้อหา

๑เป็นบทละครพูดคำฉันท์

๒ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นเพราะรัก

๓สุเทษณ์หลงรักนางมัทนาแต่นางไม่รับรักจึงสาปให้เป็นดอกกุหลาบ

๔นางมัทนารักกับท้าวชัยเสน แต่นางจันที วางอุบายให้ท้าวชัยเสนเข้าใจนางมัทนาผิด สุดท้ายนางมัทนาได้มาขอความช่วยเหลือจากสุเทษณ์และสุเทษณ์ขอความรักนาง อีกครั้งแต่นางปฏิเสธเช่นเคย เรื่องจึงจบลงด้วยความสูญเสียและความเจ็บปวดด้วยกันทุกฝ่าย

๕ด้านตัวละคร สุเทษณ์ เป็นเทพบุตรที่เจ้าอารมณ์ เอาแต่ใจตัวเอง ไม่คิดถึงความรู้สึกของผู้อื่น

นางมัทนา มีนิสัยซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ท้าวชัยเสน เป็นคนหลงเชื่อคนง่าย

คุณค่าด้านวรรณศิลป์

๑การใช้โวหารชมความงามของนางมัทนาจนทำให้ผู้อ่านเห็นภาพตาม

งามผิวประไพผ่อง กลทาบศุภาสุพรรณ
งามแก้มแฉล้มฉัน พระอรุณแอร่มละลาน
งามเกศะดำขำ กลน้ำ ณ ท้องละหาน
งามเนตรพินิจปาน สุมณีมะโนหะรา
งามทรวงสล้างสอง วรถันสุมนสุมา-
ลีเลิดประเสริฐกว่า วรุบลสะโรชะมาศ
งามเอวอนงค์ราว สุระศิลปชาญฉลาด
เกลากลึงประหนึ่งวาด วรรูปพิไลยพะวง
งามกรประหนึ่งงวง สุระคชสุเรนทะทรง
นวยนาฏวิลาศวง ดุจะรำระบำระเบง
ซ้ำไพเราะน้ำเสียง อรเพียงภิรมย์ประเลง,
ได้ฟังก็วังเวง บ มิว่างมิวายถวิล
นางใดจะมีเทียบ มะทะนา ณ ฟ้า ณ ดิน
เป็นยอดและจอดจิน- ตะนะแน่ว ณ อก ณ ใจ

๒การใช้ลีลาจังหวะให้เกิดความไพเราะ

๓การใช้คำที่มีเสียงไพเราะเกิดจากการเล่นคำให้คล้องจอง มีการเล่นเสียงสัมผัสใน สัมผัสสระแลัสัมผัสอักษร

อ้าสองเทเวศร์         โปรดเกศข้าบาท        

ทรงฟังซึ่งวาท          ที่กราบทูลเชอญ

โปรดช่วยดลใจ        ทรามวัยให้เพลิน        

จนลืมขวยเขิน         แล้วรีบเร็วมา

คุณค่าด้านสังคมไทย

๑ความเชื่อเรื่องชาติภพ

๒ความเชื่อเรื่องทำบุญมากๆจะไปเกิดบนสวรรค์

๓ที่ใดมีรักที่นั้นมีทุกข์เช่นสุเทษณ์รักนางมัทนาแต่ไม่สมหวังก็เป็นทุกข์

๔การเคารพผู้ใหญ่ กตัญญู

๕ความเชื่อเรื่องคาถาอาคม

๖การบังคับใจผู้อื่นจะก่อให้เกิดแต่ผลเสีย

ข้อคิด

๑ที่ใดมีรัดที่นั้นมีทุกข์

๒ไม่ควรหลงเชื่อคนง่าย

๓ความรักที่มั่นคงเช่นความรักที่สุเทษณ์มีให้กับนางมัทนา



อ้างอิง

https://sites.google.com/site/learnthaibykrugikk/mathna-phatha

http://kruthaicrw.blogspot.com/2013/10/blog-post_11.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น